• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ วทว.
  • ผู้บริหาร/คณาจารย์
  • หลักสูตร
  • ติดต่อเรา

 

ประวัติวิทยาลัย        
   
รู้จัก วทว.
ประวัติวิทยาลัย
โครงสร้างการบริหารของวิทยาลัย
พุทธสุภาษิต และปรัชญา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
สัญลักษณ์วิทยาลัย
วิสัยทัศน์ - พันธกิจ
มาร์ช วทว.
อัตลักษณ์ - เอกลักษณ์
โลโก้
          วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน ตั้งอยู่ที่ 266/9 ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300    สังกัดศูนย์ส่งเสริมการอาชีวศึกษาเอกชน   สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

          เดิมโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนเอกชนสายสามัญ  ชื่อโรงเรียนวิมลวิทยา สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง  มศ. 3   ต่อมา มีนักเรียน น้อยลง  เนื่องจากรัฐเปิดโรงเรียนสายสามัญเพิ่มขึ้น  เจ้าของโรงเรียนเดิม  ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  จึงประกาศขาย   ดร.กมล  ชูทรัพย์  เจ้าของและผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการมีความเห็นว่า  โรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการนั้น   มีนักเรียนมากจนไม่อาจรับเพิ่มได้อีก    เพราะพื้นที่จำกัดไม่อาจขยายเนื้อที่เพิ่มขึ้น   ประกอบกับนักเรียนที่สมัครเรียนที่ โรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ   มีภูมิลำเนาผ่านทางด้านนี้เป็นจำนวนมากพอสมควร   และโรงเรียนวิมลวิทยา ตั้งอยู่ใน ทำเลที่เหมาะสม   การคมนาคมสะดวกจึงตกลงใจซื้อกิจการโรงเรียนวิมลวิทยา  แล้วขออนุญาตต่อกระทรวงศึกษาธิการ  ขอเปลี่ยนชื่อ  เป็นโรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน  สอนวิชาพณิชยกรรมหลักสูตร 3 ปี  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2521    ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  5  ชั้น 1 หลัง มีห้องเรียนรวม  12  ห้องเรียน     และ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 โดยมี ดร.วิภาพรรณ   ชูทรัพย์ เป็นผู้จัดการ  ปีแรกมีนักเรียน  200  คน  ต่อมาปีพ.ศ.  2522  ได้เปิดทำการสอนภาคบ่ายและภาคพิเศษเพิ่มขึ้น  พ.ศ. 2523  จำนวนนักเรียนมีมากขึ้น จนอาคารหลังเดียวไม่พอรองรับนักเรียน  จึงได้เริ่มรื้ออาคารไม้ของโรงเรียนวิมลวิทยาออก    และก่อสร้างอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก  5  ชั้น อีกหนึ่งหลัง  ได้รับอนุญาตให้เปิดใช้เป็นอาคารเรียน ในปีพ.ศ. 2524  ทำให้มีห้องเรียน 24  ห้องเรียน  และได้ขยายพื้นที่สนามกีฬาเพิ่มขึ้น

       

                           

          ปีการศึกษา  2530  ดร.วิภาพรรณ  ชูทรัพย์  ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้รับใบอนุญาต  จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  แทน ดร.กมล  ชูทรัพย์  ผู้รับใบอนุญาตเดิมที่ถึงแก่กรรม  ในปีการศึกษานี้  วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดสอนประเภทวิชา พาณิชยกรรม  กลุ่มถนัดวิชาการบัญชี  กลุ่มถนัดวิชาการขาย  กลุ่มถนัดวิชาการเลขานุการ  และบริการธุรกิจสถานพยาบาล  ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

         

          ปีการศึกษา  2531  ได้ขอเปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  สาขาวิชาพาณิชยการ  เป็นหลักสูตรประกาศ นียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช  2531  ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา  สายวิชา  บริหารธุรกิจ  สาขาการบัญชี  การขาย  และการเลขานุการ

          ปีการศึกษา  2541  ขอยกเลิกหลักสูตร ปวช. พ.ศ. 2524 กรมอาชีวศึกษา ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  กลุ่มวิชา  บริหารธุรกิจสถานพยาบาล

          ปีการศึกษา  2542  ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ  3  สาขาวิชาคือ  สาขาวิชาการบัญชี  สาขาวิชาการตลาด  และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

          ปีการศึกษา  2545  วิทยาลัยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก  รอบแรก  โดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา

          ปีการศึกษา  2549  วิทยาลัยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง  ด้านอาชีวศึกษา  จากสำนักงานรับรอง มาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  โดยได้คะแนนในระดับดี  ค่าเฉลี่ย4.21

 

         ปีการศึกษา  2550  วิทยาลัยได้ศึกษาและวิเคราะห์สรุปผลการประเมินภายนอก  เพื่อจัดทำแผนพัฒนา สถานศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี  จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใน  โดยใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา


          ปีการศึกษา  2551  วิทยาลัยได้จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพภายใน  โดยพิชญพิจารณ์  เมื่อวันที่  1-2  ธันวาคม  2552  ได้ระดับคะแนน  3.77  อยู่ในระดับ ดี


          ปีการศึกษา  2552  วิทยาลัยจัดทำพิชญพิจารณ์  เมื่อวันที่  17-18  มกราคม  2552  ได้คะแนน  4.43  อยู่ในระดับ ดี

 

          ปีการศึกษา  2554   วิทยาลัยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม  ด้านอาชีวศึกษา   ระหว่างวันที่  2-4  สิงหาคม  2554  ระดับคะแนนเฉลี่ย  4.01  และ  วันที่  11  ตุลาคม  2554  โรงเรียนวิมลพณิชยการ ศรีย่าน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล  ศรีย่าน

 
          ปีการศึกษา  2555  วิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินตนเองตามมาตรฐานสถานศึกษา  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.72  อยู่ในระดับ  ดีมาก


          ปีการศึกษา  2556  วิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินตนเองตามมาตรฐานสถานศึกษา  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.69  อยู่ในระดับ  ดีมาก 

       
         
ปีการศึกษา  2557  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  ประเมินคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.80

 

          ปีการศึกษา  2558  วิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินตนเองตามมาตรฐานสถานศึกษา  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.94  อยู่ในระดับ  ดีมาก  และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอนุญาตให้วิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี  สาขาวิชาการตลาด  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปีการศึกษา 2559
         

          ปีการศึกษา  2559  วิทยลัยจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี สาขาวิชาการตลาด ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และขออนุญาติจัดการเรียนการสอน ระบบทวิภาคีในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ครบทุกสาขาวิชา


          ปีการศึกษา  2560  วิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินตนเองตามมาตรฐานสถานศึกษา  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.72  อยู่ในระดับ  ดีมาก